เมนู

สักการะอันคฤหบดีเตรียมไว้เพื่อพระอัครสาวกทั้งสอง ใคร่จะเสียดสี
คฤหบดีโดยชาติ จึงกล่าวว่า "คฤหบดีสักการะของท่านล้นเหลือ, ก็แต่
ในสักการะนี้ ไม่มีอยู่อย่างเดียวเท่านั้น."
คฤหบดี. อะไร ขอรับ ?
พระเถระ ตอบว่า " ขนมแดกงา คฤหบดี" ถูกคฤหบดีรุกราน
ด้วยวาจาอุปมาด้วยกา โกรธแล้ว กล่าวว่า " คฤหบดี นั่นอาวาสของ
ท่าน, เราจักหลีกไป." แม้อันคฤหบดีห้ามถึง 3 ครั้ง ก็หลีกไปสู่สำนัก
พระศาสดา กราบทูลลำที่จิตตคฤหบดี และตนกล่าวแล้ว.

พระสุธรรมเถระถูกสงฆ์ลงปฏิสารณียกรรม


พระศาสดา ตรัสว่า "อุบาสกเป็นคนมีศรัทธาเลื่อมใส อันเธอ
ด่าด้วยคำเลว" ดังนี้แล้ว ทรงปรับโทษแก่พระสุธรรมเถระนั้นนั่นแล
แล้วรับสั่งให้สงฆ์ลงปฏิสารณียกรรม1 แล้วส่งไปว่า "เธอจงไป, ให้
จิตตคฤหบดีอดโทษเสีย." พระเถระไปในที่นั้นแล้ว แม้กล่าวว่า
" คฤหบดี นั่นโทษของอาตมะเท่านั้น, ท่านจงอดโทษแก่อาตมะเถิด "
อันคฤหบดีนั้น ห้ามว่า "ผมไม่อดโทษ" เป็นผู้เก้อ ไม่อาจให้คฤหบดี
นั้นอดโทษได้, จึงกลับมาสู่สำนักพระศาสดาอีกเทียว. พระศาสดา แม้
ทรงทราบว่า "อุบาสกจักไม่อดโทษแก่พระสุธรรมนั้น ทรงดำริว่า
"ภิกษุนี้ กระด้างเพราะมานะ จงไปสู่ทาง 3 โยชน์แล้วกลับมา" จึง
ไม่ทรงบอกอุบายให้อดโทษเลย ทรงส่งไปแล้ว.
1. กรรมอันให้ระลึกถึงความผิด.

สมณะไม่ควรทำมานะและริษยา


ครั้นในกาลที่พระสุธรรมเถระนั้นกลับมา พระศาสดา ประทาน
ภิกษุผู้อนุทูตแก่เธอผู้นำมานะออกแล้ว ตรัสว่า "เธอจงไปเถิด, ไปกับ
ภิกษุนี้ จงให้อุบาสกอดโทษ" ดังนี้แล้ว ตรัสว่า "ธรรมดาสมณะ
ไม่ควรทำมานะหรือริษยาว่า 'วิหารของเรา, ที่อยู่ของเรา, อุบาสกของ
เรา, อุบาสิกาของเรา, เพราะเมื่อสมณะทำอย่างนั้น เหล่ากิเลส มีริษยา
และมานะเป็นต้น ย่อมเจริญ" เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึง
ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า:-
14. อสนฺตํ ภาวมิจฺเฉยฺย ปุเรกฺขารญฺจ ภิกฺขุสุ
อาวาเสสุ จ อิสฺสริยํ ปูชา ปรกุเลสุ จ
มเนว กตมญฺญนฺตุ คิหี ปพฺพชิตา อุโภ
มเมว อติวสา อสฺสุ กิจฺจากิจฺเจสุ กิสฺมิจิ
อิติ พาลสฺส สงฺกปฺโป อิสฺสา มโน จ วฑฺฒตฺ.
"ภิกษุผู้พาล พึงปรารถนาความยกย่องอันไม่
มีอยู่ ความแวดล้อมในภิกษุทั้งหลาย ความเป็นใหญ่
ในอาวาส และการบูชาในตระกูลแห่งชนอื่น ความ
ดำริ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้พาลว่า 'คฤหัสถ์และ
บรรพชิตทั้งสองจงสำคัญกรรม อันเขาทำเสร็จแล้ว
เพราะอาศัยเราผู้เดียว จงเป็นไปในอำนาจของเรา
เท่านั้น ในกิจน้อยใหญ่ กิจไร ๆ, ริษยาและมานะ
ย่อมเจริญ (แก่เธอ)."